อัลกุรอานกล่าวไว้ในโองการที่ 64 ซูเราะฮ์อังกะบูตว่า :

وَمَا هَذِهِ الْحَيَاةُ الدُّنْيَا إِلا لَهْوٌ وَلَعِبٌ وَإِنَّ الدَّارَ الآخِرَةَ لَهِيَ الْحَيَوَانُ

แท้จริงการมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ไม่ใช่อื่นใดเลยนอกจากมันจะเป็นการละเล่นและการสนุกสนานรื่นเริง แต่การมีชีวิตอยู่ในโลกหน้านั้นเป็นชีวิตที่แท้จริง….

คำว่า لَهْوٌ ที่กล่าวถึงในโองการนี้หมายถึงการกระทำที่ไร้สาระและเป็นเหตุทำให้มนุษย์หมกมุ่นอยู่กับมันจนหลงลืมงานสำคัญที่ตัวเองต้องทำ ตามความหมายดังกล่าวนี้กุรอานต้องการชี้ให้เราเห็นว่าสิ่งที่ทำให้มนุษย์หลงระเริงจนลืมงานสำคัญนั้นก็คือ การมีชีวิตที่จมปลักอยู่กับโลกแห่งวัตถุเพียงอย่างเดียวนั่นเอง

ส่วนคำว่า لَعِبٌ ในโองการข้างต้นหมายถึงการละเล่นของเด็กที่สร้างความเพลิดเพลินและไม่มีประโยชน์ ซึ่งบางครั้งเป็น็เรื่องที่บรรดาเด็ก ๆ ตั้งกติกาและสมมุติมันขึ้นมาและใช้กติกาเหล่านั้นเอาชนะและแก่งแย่งกันชิงดีกันสิ่งยั่วยวนและความริ่นเริงในโลกมนุษย์ในมุมมองของกุรอานก็คือสิ่งไร้สาระเท่านั้น ไม่ใช่สิ่งใดเลยนอกจากจะเป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์หลงลืมชีวิตจริงในโลกหน้าเท่านั้น

ทุกวันนี้บรรดาพวกวัตถุนิยมและหลงระเริงในอำนาจกำลังต่อสู้แก่งแย่งชีงดีชิงเด่นกัน มองแล้วไม่ต่างอะไรกกับสุนัขฝูงหนึ่งที่กำลังแย่งซากศพเท่านั้นเอง